วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

เศรษฐศาสตร์



 วิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics)







     วิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมในการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยกรที่มีอยู่จำกัดและสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายทาง มาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ อย่างประหยัดที่สุดหรืออย่างมีประสิทธิภาพทางเทคนิคสูงสุด และหาทางจำแนกแจกจ่ายสินค้าและบริการเหล่านั้นไปยังบุคคลในสังคมให้ได้รับความพอใจสูงสุดหรืออย่างมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูงสุด


จากคำนิยามข้างต้น ได้เกิดแนวคิด (concept) เกี่ยวข้องในทางเศรษฐศาสตร์ไว้หลายประการด้วยกัน ดังนี้





การขาดแคลน (Scarcity)

          การที่เกิดการขาดแคลนขึ้นเนื่องจากความต้องการของมนุษย์ในสังคมมีมากกว่าความสามารถของสังคมที่ตอบสนองได้ทั้งหมด ซึ่งผลักดันให้มนุษย์ต้องทำการตัดสินใจเลือกสิ่งที่จะสนองความต้องการและความพอใจได้ดีที่สุด



การเลือก (Choices)

          ปัญหาการขาดแคลนและการเลือก มักไปด้วยกัน บุคคลแต่ละคน หน่วยธุรกิจต่างๆตลอดจนสังคมโดยส่วนรวม ต้องตัดสินใจเลือกทางทางเลือกทางหนึ่ง บุคคลต้องเลือกระหว่างการหางานทำหรือการศึกษาต่อ ระหว่างการไปดูภาพยนต์หรือไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ธุรกิจต่าง ๆ ต้องทำการตัดสินใจว่าควรซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ไหน ควรผลิตสินค้าอะไรออกจำหน่าย ควรว่าจ้างอย่างไร ควรสร้างโรงงานใหม่อีกหรือไม่ เมือเลือกทางใดทางหนึ่งก็เกิด ต้นทุนเสียโอกาส (Opportunity Cost) หมายความว่า เมื่อเราใช้ทรัพยากรที่ขาดแคลนไปผลิตสินค้าอย่างหนึ่ง ย่อมทำให้เราต้องสูญเสียโอกาสไปผลิตสินค้าอีกหลายอย่างเสมอ 

ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์   

               - ในฐานะของผู้บริหารประเทศ จะต้องอาศัยความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหา และตัดสินใจปัญหานั้น ๆ

               - ในฐานะบุคคลทุกคนในสังคมจึงจำเป็นต้องศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ เพื่อจะได้เข้าใจปรากฎการณ์ต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทั้งสาเหตุ และผลกระทบต่อบุคคลและสังคม ตลอดจนรู้แนวทางที่จะนำไปแก้ไขหรือประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีเหตุผลทางเศรษฐกิจ

ความสัมพันธ์ระหว่างเศรฐศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ
             
       
 เศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กับรัฐศาสตร์ในแง่ที่ว่า การกำหนดนโยบายต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจก็ยังอยู่ภายใต้อิทธิพลหรืออุดมการทางเมืองของพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากเข้ามาบริหารประเทศ

          เศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กับกฎหมายในแง่ที่ว่า การอกกกฎหมายบางเรื่อง อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความพยายามที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจบางอย่าง เช่น กฎหมายว่าด้วยการค้ากำไรเกินควรหรือกฎหมายแรงงานขั้นต่ำ

          เศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กับบริหารธุรกิจอย่างมาก เพราะในการตัดสินปัญหาต่าง ๆ ในการบริหารธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านการเลือกโครงการการลงทุน การเลือกวิธีการผลิตตลอดจนการกำหนดราคาสินค้าและปริมาณการผลิตเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ นักธุรกิจจำเป็นต้องอาศัยหลักเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์เข้าช่วยในการตัดสินใจ นอกจากนี้นักธุรกิจยังต้องมีความรอบรู้อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจ ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นประจำทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพราะปัจจัยเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรง

          เศรษฐศาสตร์ยังมีความสัมพันธ์กับจิตวิทยาด้วย เพราะพฤติกรรมของมนุษย์ในการติดสินปัญหาเศรษฐกิจบางเรื่องต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยาด้วย ตัวอย่างเช่น มีผู้ผลิตบางรายนิยมตั้งราคาสินค้าให้ลงท้ายด้วยเลข 9 เพราะต้องการให้ผู้ซื้อรู้สึกว่าสินค้ายังราคาถูกอยู่ เช่น ถ้าตั้งราคารองเท้าคู่ละ 200 บาท คนทั่ว ๆ ไปอาจจะรู้สึกว่าแพง เพราะราคาสูงถึง 200 แต่ถ้าตั้งราคาคู่ละ 199 บาท คนจะรู้สึกว่าราคาถูก เพราะไม่ถึง 200 บาท เป็นต้น   

ขอบเขตของวิชาเศรษฐศาสตร์   
          
           วิชาเศรษฐศาตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินปัญหาทางเศรษฐกิจของมนุษย์และสังคม ดังนั้น เนื้อหาเศรษฐศาสตร์จึงครอบคลุมถึงพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น ๆ
                              

วิธีการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์                                                                                                                

         
 วิธีการสร้างกฎเกณฑ์หรือทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการอธิบายพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์และสังคมนั้น สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

         
วิธีอนุมาน (Deductive) เป็นการสร้างทฤษฎีโดยเริ่มต้นจากการสร้างสมมุติฐาน (Hypothesis) โดยอาศัยเหตุและผลตามแบบตรรกวิทยา จากนั้นทำการทดสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ถ้าสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ แสดงว่า สมมุติฐานนั้นถูกต้องสามารถสรุปออกมาเป็นทฤษฎี

         
วิธีอุปมาน (Induction) คือ วิธีการหาเหตุจากผล เป็นการสร้างทฤษฎีโดยการรวบรวมข้อเท็จจริงจากปรากฏการณ์ต่าง ๆ มาเป็นข้อมูล แล้วตั้งเป็นกฎหรือทฤษฎีเพื่อนำไปใช้ในการอธิบายเหตุการณ์อื่น ๆ ในระดับที่กว้างด้วยการพิสูจน์ข้อมูลโดยใช้หลักทางสถิติ เรียกว่า การสรุปจากความจริงย่อยไปสู่ความจริงหลัก

ข้อสมมุติในทางเศรษฐศาสตร์ 

         
 การที่จะศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ แล้วสรุปเป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์นั้น ต้องอาศัยข้อสมมุติพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ 2 ข้อ คือ

          1.
มนุษย์จะดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างมีเหตุผล (economic rationality) กล่าวคือ ในการตัดสินปัญหาทางเศรษฐกิจของมนุษย์จะเป็นไปในทางที่ตนเองได้รับผลประโยชน์และความพอใจสูงสุดจากงบประมาณที่มีอยู่จำกัด

          2. 
กำหนดให้ปัจจัยอื่นๆ ทุกชนิดคงที่ (all other things being equal) พฤติกรรมทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ถูกกำหนดโดยปัจจัยต่าง ๆ มากมาย ดังนั้น ในการศึกษาพฤติกรรมเรื่องใดเรื่องหนึ่งจึงจำเป็นต้องจำกัดขอบเขตการศึกษาให้แน่นอน โดยสมมติให้ปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ได้พิจารณาคงที่ เพื่อง่ายต่อการศึกษาผลกระทบจากปัจจัยต่างๆเหล่านั้นได้

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กับสภาพความเป็นจริง

          
การสร้างทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ จำเป็นต้องกำหนดข้อสมมติขึ้นเพื่อให้การอธิบายพฤติกรรมต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจเป็นไปได้  ดังนั้น ทฤษฎีเศรษฐศาตร์จึงจำเป็นเพียงจำลองอย่างย่อ ๆ ของพฤติกรรมทางเศรษฐกิจเท่านั้น ซึ่งตามสภาพความเป็นจริงแล้ว มนุษย์เราไม่อาจแยกปัจจัยทุกชนิดที่มีอิทธิต่อพฤติกรรมออกจากกันได้ ดังนั้นการนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาอธิบายพฤติกรรมทางเศรษฐกิจตามความเป็นจริงจึงถูกจำกัดโดยข้อสมมติที่กำหนดขึ้นในแต่ละทฤฎี แต่แม้กระนั้นการสร้างทฤษฎีเศรษฐศาตร์เพื่อย่นย่อพฤติกรรมต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจก็เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์ เพราะทฤษฎีเหล่านั้นสามารถใช้อธิบายพฤติกรรมสามารถใช้อธิบายพฤติกรรมทางเศรษฐกิจภายใต้สถานการณ์บางอย่างได้และอาจใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้






1 ความคิดเห็น: